เริ่ม ต้นเป็นผู้ใช้ลีนุกซ์ที่ดี

12.4.53

รถที่ดีต้องได้คนขับที่ดีถึงจะสามารถใช้ความสามารถที่มีอยู่ในรถได้อย่าง เต็มที่ และผู้ขับที่ดีก็ต้องเข้าใจในลักษณะเฉพาะตัวของรถที่จะขับ รู้จักปรับตัวเองให้เข้ากับรถ

การจะใช้ลีนุกซ์ให้ได้ดีก็ต้องเช่นเดียวกันเราต้องเข้าใจในลักษณะเฉพาะตัว ของลีนุกซ์เช่นเดียวกัน บางคนที่คิดจะหันมาลองใช้ลีนุกซ์อาจจะคิดว่ามันเหมือนกันกับวินโดวส์แต่ใน ความเป็นจริงมันไม่ใช่เช่นนั้น เพราะลีนุกซ์ไม่ใช่วินโดวส์ แต่ลีนุกซ์ก็ทำหน้าที่เดียวกันกับวินโดวส์ การใช้งานต่างๆจึงไม่ได้เหมือนกันเสียทีเดียวแต่ก็ไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นเราจึงต้องมาเรียนรู้ลักษณะรูปแบบเฉพาะตัวของลีนุกซ์เพื่อให้สามารถ ปรับตัวมาใช้ลีนุกซ์ได้อย่างง่ายและเข้าใจ เพื่อนำไปสู่การใช้งานที่สูงขึ้นต่อไป โดยเราสามารถใช้ความรู้จากการที่เราเคยใช้วินโดวส์มาปรับตัวเพื่อใช้งานกับ ลีนุกซ์ได้
ผู้ใช้งานลีนุกซ์ที่ดี

สิ่งที่ผู้ใช้งานลีนุกซ์หน้าใหม่ต้องรู้ในเบื่องต้นก็ควรจะมีดังนี้ (อ้างอิงอูบุนตู 9.04)

1. สิทธิของท่าน ผู้ใช้งานอูบุนตูที่ login เข้ามาในระบบจะมีสิทธิการใช้งานอยู่สองสิทธิคือ สิทธิผู้ใช้งานธรรมดาไม่มีสิทธิในการปรับปรุงระบบโดยรวม แต่สามารถปรับปรุงได้เฉพาะในส่วนของตนเองดท่านั้น ทำให้ไม่สามารถติดตั้งอัพเกรดถอดถอนโปรแกรม และแก้ไขแฟ้มที่อยู่นอกโฮมของท่านได้ (โฮมของท่านคือ: /home/ชื่อของท่าน) แต่ท่านสามารถที่จะเปลี่ยนสิทธิของท่านเป็นผู้ใช้งานที่ดูแลระบบได้ คือต้องใช้สิทธิรูท ถ้าท่านใช้สิทธิรูทท่านจะสามารถทำทุกอย่างที่ท่านต้องการได้ (โปรดใช้ความระมัดระวังในใช้งานของท่านด้วยสิทธิรูท) การใช้เทอร์มินัลเราใช้สิทธิรูทได้โดยการใช้คำสั่ง sudo นำหน้าคำสั่งที่ต้องการ เช่น "sudo apt-get install firefox" คือการใช้สิทธิรูทในการติดตั้งไฟร์ฟ็อกซ์ เมื่อรันคำสั่งดังกล่าวจะมีการถามรหัสผ่าน ให้พิมพ์รหัสที่ท่านใช้ในตอนติดตั้ง ในเทอร์มินัลการพิมพ์รหัสผ่านจะไม่มีการแสดงตัวอัษรใดๆทั้งสิ้น ขอเพียงให้ท่านพิมพ์ให้ถูกก็สามารถใช้คำสั้งดังกล่าวได้ (เหตุที่ไม่มีการแสดงตัวอักษรใดๆเลยมีผู้รู้บอกมาว่าป้องกันคนข้างๆแอบดู รหัสของเรา) และถ้าเราติดตั้งโปรแกรมผ่าน synaptic ในตอนเรียกโปรแกรมขึ้นมาก็จะมีไดอะล็อกบล็อกมาถามรหัสผ่านของรูทจากเรา และนี้ก็คือการสลับสับเปลี่ยนสิทธิของผู้ใช้งานธรรมดาและผู้ดูแลระบบ ในตอนที่เราใช้สิทธิรูทเราจะมีเวลาใช้งานด้วยสิทธินี้อยู่ 15 นาที สามารถติดตั้งโปรแกรมหรืองานอื่นๆได้โดยไม่ต้องสั่ง sudo นำหน้า แต่ถ้าหลังจากนั้นต้องใช้ sudo ก่อนตามเดิม เหตุที่ต้องมีระบบแบบนี้ก็เพื่อความปลอดภัยของระบบทั้งจากผู้อื่นและจากตัว ท่านเอง
2. การแก้ไขไฟล์หรือการสร้างลบโฟลเดอร์ที่อยู่เหนือนอก จากโฮมต้องใช้สิทธิรูท เป็นธรรมดาเมื่อเราใช้งานแล้วมีปัญหา หลังจากสอบถามหาคำตอบกับผู้รู้แล้ว ถ้าเข้าแนะนำให้แก้ไขไฟล์ตรงนี้สร้างโฟล์เดอร์ตรงนั้นบางครั้งเขาอาจจะไม่ ได้บอกว่าต้องทำอย่างไร เพราะถือกันว่าผู้ใช้งานต้องมีความรู้พื้นฐานตรงนี้อยู่แล้ว เมื่อผู้ใช้งานหน้าใหม่นำกลับมาทำแล้วไม่สามารถทำได้ ทำให้คิดและเข้าใจผิดได้ว่าลีนุกซ์ใช้งานยาก เรื่องมาก ผู้ให้คำตอบตอบไม่ชัดเจน และเมื่อถามหาวิธีการแก้ปัญหาพื้นฐานนี้ ผู้รู้ก็มักจะบอกให้ไปหาในกูเกิลหรือลองค้นหาเอาเองในเว็บบอร์ด เลยสร้างความรู้สึกที่ไม่ดีต่อกันกับสองฝ่าย แต่สิ่งนี้ผู้ใช้งานก็ต้องเรียนรู้ในสิ่งที่ควรรู้ เข้าใจและใช้งานได้ถูกต้อง เหมือนเมื่อครั้งตอนที่ท่านหัดใช้วินโดวส์ครั้งแรก ว่าถ้าคัดลอกอะไรก็ให้เลือกแล้วกด Ctrl+c แล้วถ้าต้องการจะวางสิ่งที่คัดลอกมาก็ให้คลิกบริเวณที่ต้องการจะวางแล้วกด Ctrl+v สิ่งเหล่านี้ท่านก็ต้องเรียนรู้ใหม่ทำความเข้าใจกับมัน นำไปใช้งานให้ถูกต้องและก็ฝึกใช้จนเป็นนิสัย ในลีนุกซ์ก็เช่นเดียวกัน
ขอกลับมาที่การแก้ไขไฟล์ การแก้ไขไฟล์ (นอกโฮมนะครับ) ให้ใช้โปรแกรมแก้ไขข้อความโดยเรียกด้วยสิทธิรูท เช่น มีการบอกให้แก้ไขไฟล์ menu.lst ที่อยู่ใน /boot/grub/ ทำได้โดย สั่ง "sudo gedit /boot/grub/menu.lst" ก็จะเป็นการเปิดไฟล์ menu.lst ด้วยสิทธิรูทที่อยู่ที่ /boot/grub/ ด้วยโปรแกรม gedit เท่านี้ท่านก็สามารถแก้ไขและบันทึกไฟล์ได้ หรือท่านจะเปิดผ่านโปรแกรมจัดการแฟ้มก็ได้ ให้สั่ง "sudo nautilus /boot/grub/" ก็จะเป็นการเปิดโปรแกรม nautilus ด้วยสิทรูทไปที่ /boot/grub/ ก็จะมีไฟล์ต่างๆที่อยู่ในโฟลเดอร์ให้เราเลือกดูไฟล์ที่ต้องการแล้วคลิ กเปิดไฟล์นั้นด้วยโปรแกรมแก้ไขข้อความ ถ้ามีการให้สร้างโฟล์เดอร์ก็ให้คลิกขวาสร้างโฟลเดอร์ใหม่ได้เลย และใน nautilus ถ้าเราจะซ่อนไฟล์หรือโฟล์เดอร์ให้พิมพ์ จุดนำหน้าชื่อไฟล์นั้นเช่น ".firefox" เป็นการซ่อนโฟลเดอร์ firefox และถ้าต้องการดูไฟล์ที่ถูกซ่อนก็ให้กด Ctrl+h ซ่อนอีกครังก็กด Ctrl+h อีกครัง เพราะบางครั้งที่เรามีปัญหาแล้วผู้รู้ได้แนะนำให้แก้ไขไฟล์ที่อยู่ใน โฟล์เดอร์ที่ถูกซ่อนอยู่ก็เป็นได้
3. การใช้คำสั่งในเทอร์มินัล ผู้ใช้งานลีนุกซ์ต้องเรียนรู้คำสั่งพื้นฐานใว้บ้าง และต้องทำความเข้าใจในตัวคำสั่งและรูปแบบของคำสั่งให้ได้บ้างตามสมควร ถึงแม้ว่าจะมีโปรแกรมแบบกราฟฟิกให้ใช้งาน แต่บางครั้งงานบางอย่างการสั่งผ่านเทอร์มินัลก็ทำได้ดีและสะดวกกว่า
คำสั่งพื้นฐานที่ต้องรู้ก็ได้แก่
cd:ใช้ย้ายตำแหน่งการเรียกใช้งานคำสั่งเทอร์มินัล
sudo:ขอใช้สิทธิรูท
"sudo apt-get update":ใช้ปรับปรุงรายการโปรแกรม
"sudo apt-get install xxx":ใช้ติดตั้งโปรแกรม xxx
"sudo apt-get upgrade":ใช้อัพเกรดเวอร์ชันโปรแกรม xxx
"sudo apt-get remove xxx":ใช้ถอดถอนโปรแกรม xxx
"man xxx":เป็นการแสดงรูปแบบพารามิเตอร์ที่ใช้รวมกับคำสังและมีการอธิบายความหมาย ของค่าพารามิเตอร์ต่าง ซึ่งคำสั่งนี้จะช่วยเราได้มากในการเรียนรู้และนำไปใช้งานของคำสั่งต่างๆได้ เป็นอย่างมาก เมื่อรันคำสั่งนี้แล้วจะมีข้อมูลอธิบายค่าต่างๆให้เราอ่านถ้าจะออกจากโหมด นี้ให้กดปุ่ม q ก็จะกลับมาทีบรรทัดคำสังตามเดิม
"info xxx":เป็นการอธิบายเกี่ยวกับคำสั่ง xxx คลายกันกับคำสั่ง man
ในเบื้องต้นผู้ใช้งานหน้าใหม่ก็ควรจะรู้และเข้าใจความหมายของคำสั่งเหล่านี้ ก่อน จากนั้นค่อยเรียนรู้ในคำสั่งอื่นๆต่อไป โดยใช้คำสั่ง man และ info ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
4. การเรียกใช้คำสั่งให้ถูกที่ บ่อยครั้งที่ผู้ใช้งานหน้าใหม่ใช้งานแล้วเกิดปัญหาเมื่อไปสอบถามกับผู้รู้ก็ ได้รับคำตอบว่าให้ใช้คำสั่งนี้คำสั่งนี้ เมื่อผู้ใช้งานหน้าใหม่นำไปใช้กลับใช้การไม่ได้ ถ้าคำสั่งถูกต้องก็มักจะมีปัญหามาจากตำแหน่งการรันคำสั่งนั้นไม่ตรงกับ ตำแหน่งที่ควรจะเป็น โดยเห็นได้บ่อยมากกับการที่ต้องโหลดไฟล์มาแล้วให้รันคำสังแตกไฟล์ออกมา แต่พอสั่งตามที่ผู้รู้ได้บอกกลับใช้งานไม่ได้ เพราะโดยปกติแล้วเมื่อเราเปิดเทอร์มินัลขึ้นมาตำแหน่งการเรียกใช้คำสั่งก็จะ อยู่ที่ /home/bb (bb คือชื่อของท่าน) แต่ตอนที่ท่านโหลดไฟล์มาไฟล์ของท่านอยู่ที่หน้าเดสก์ท็อปหรือทีอื่นก็แล้ว แต่ ทำให้เมื่อรันคำสั่งก็จะไม่เจอไฟล์ดังกล่าว แต่บางคนอาจโหลดไฟล์ใว้ในโฮมของตนแล้วรันคำสั่งก็ใช้งานได้ดี แต่พอมีเหตุการแบบนี้อีกแต่คราวนี้ไม่ได้โหลดไฟล์มาใว้ที่โฮมเมือรันคำสั่ง กลับมีปัญหา เพราะครั้งแรกที่ไม่มีปัญหาเพราะท่านโชคดีแต่ท่านไม่เข้าใจในการใช้งานที่ ถูกต้องเลยต้องมีปัญหาในครั้งที่สอง การแก้ปัญหาเหล่านี้ทำได้โดยย้ายไฟล์มาในตำแหน่งที่ถูกต้อง แต่งานบางอย่างเราย้ายไฟล์ไม่ได้ก็ต้องย้ายตำแหน่งการทำงานแทน (มันไม่มาหาเราเราก็ต้องไปหามัน) โดยใช้คำสั่ง cd ตามด้วยตำแหน่งที่จะไป เช่น "cd /home/bb/เดสก์ท็อป" เป็นการย้ายตำแหน่งการทำงานไปที่เดสก์ท็อป เมื่อรันคำสั่งก็จะไม่มีปัญหาแต่ประการใด
5. การติดตั้งโปรแกรม ในอูบุนตูเราสามารถติดตั้งโปรแกรมได้หลากหลายวิธีมาก ที่ขอแนะนำ
* "sudo apt-get install xxx" แบบใช้เทอร์มินัล ข้อดีทำงานได้เร็วไม่โหลดเครื่อง ใช้ได้ดีกับคนที่รู้จักชื่อโปรแกรมอยู่แล้ว หรือจากเว็บที่จะมีการบอกชื่อโปรแกรมที่ต้องติดตั้ง เราก็สามารถ Ctrl+c, Ctrl+v, enter ได้เลย แล้วรอตามความเร็วของอินเทอร์เน็ตที่ใช้ก็จะได้โปรแกรมมาใช้งาน
* synaptic โปรแกรมช่วยติดตั้งโปรแกรมแบบกราฟฟิก ใช้งานง่ายมีช่องค้นหาทำให้หารายชื่อโปรแกรมที่ต้องการได้เร็ว มีการแบ่งแยกรายชื่อโปรแกรมที่ติดตั้งแล้ว สามารถอัพเกรดได้ ไม่มีการติดตั้ง ช่วยให้การติดตั้งอัพเกรดถอดถอนทำได้สะดวกรวจเร็ว แนะนำให้ใช้ synaptic เป็นโปรแกรมหลักในการเลือกติดตั้งโปรแกรม
* ติดตั้งด้วย .deb ไฟล์ การติดตั้งแบบนี้คลายกับการติดตั้งโปรแกรมในวินโดวส์ คือ ต้องไปหาโหลด .deb ไฟล์เอาเอง ได้มาจะเก็บใว้ที่ไหนก็ได้ ให้ดับเบิลคลิกที่ไฟล์ก็จะมีโปรแกรมขึ้นมาทำการตรวจสอบไฟล์เมื่อพบว่ามีไฟล์ อื่นๆครบตามที่ต้องการก็จะสามารถติดตั้งโปรแกรมดังกล่าวได้ แต่ถ้าไม่ก็ต้องหามาให้ครบ โดยการติดตั้งในรูปแบบนี้มีข้อดีคือเราสามารถคัดลอกไฟล์ .deb ไปลงที่เครื่องอื่นได้แบบเดียวกับไฟล์ติดตั้งของวินโดวส์ แต่ข้อเสียคือไม่สามารถอัพเกรดโปรแกรมได้และบางโปรแกรมต้องใช้ไฟล์ .deb หลายไฟล์จึงจะได้โปรแกรมครบตามที่ต้องการ

สิ่งควรรู้ห้าข้อนี้ถ้าท่านรู้เข้าใจและสามารถนำไปใช้งานได้อย่างถูกต้อง ท่านจะสามารถใช้งานลีนุกซ์ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และช่วยเหลือแนะนำผู้อื่น ได้อย่างสะดวกและรวจเร็ว

ก็ขอฝากใว้ให้ผู้ใช้งานลีนุกซ์หน้าใหม่และผู้ที่ให้ความสนใจในลีนุกซ์ได้ทำ ความเข้าใจในลักษณะเฉพาะเหล่านี้ใว้ด้วย ถ้าหากใช้งานแล้วมีปัญหาติดขัดอะไรตรงไหนก็สามารถไปตั้งกระทู้สอบถามปัญหา ของท่านได้ที่เว็บบอร์ดของ ubuntuclub.com

ปล. ในบล็อกต่อไปจะมาแนะนำการปรับแต่งให้อูบุนตูใช้งานได้สะดวกขึ้น ใครสนใจก็รอติดตามได้ ขอบคุณที่ท่านอ่านจบ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม