KaraOK ซอฟต์แวร์สำหรับเล่นและร้องเพลง คาราโอเกะ บนเครื่องคอมพิวเตอร์

18.12.53

อีกหนึ่งประโยชน์ ของการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ให้คุ้มค่า นั่นคือ นำมาทำเป็นเครื่องเล่น คาราโอเกะ ในบ้านครับ หลาย ๆ ท่านคงจะเคยไปร้องคาราโอเกะ ตามร้านอาหารมาบ้างแล้ว มาลองดูโปรแกรม KaraOK ซึ่งจะทำการเปลี่ยน เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวเก่งของคุณ ให้กลายเป็นเครื่องมือ ที่สามารถสร้างความบันเทิงภายในบ้านได้
ก่อนอื่น มาทำความรู้จักกับ เพลงในรูปแบบคาราโอเกะกันก่อน ความจริงแล้ว เพลงแบบนี้ ก็คือเพลงในรูปแบบของ MIDI นั่นเอง ซึ่งเป็นรูปแบบการเก็บตัวโน็ตและจังหวะ ของเครื่องดนตรีชิ้นต่าง ๆ แทนที่จะเก็บเป็นเสียงดนตรีจริง ๆ เมื่อเล่นเพลงแบบ MIDI นี้ ซอฟต์แวร์ที่จะเล่น จะต้องแปลความหมายของตัวโน็ต ออกมาให้กลายเป็นเสียงของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นแทน ดังนั้น เพลงในแบบนี้ จะใช้เนื้อที่จัดเก็บบนดิสก์เพียงแค่ประมาณ 20-30K. เท่านั้น (เพลงแบบ MP3 จะใช้ประมาณ 3M. ต่อเพลง)
ในเมืองไทย มีผู้ที่นำเอาไฟล์เพลงแบบ MIDI นี้ มาบวกเข้ากับเนื้อเพลง และกำหนดช่วงเวลาในการแสดงผล รวมออกมาเป็น ซีดีคาราโอเกะ ซึ่งจะใช้ซอฟต์แวร์ยอดฮิตคือ NCN Karaok ซึ่งหากเป็นการ์ดเสียงดี ๆ ก็จะได้เสียงดนตรีที่สมจริงมาก แต่ในที่นี้ ผมจะไม่แนะนำโปรแกรม NCN เพราะว่ามีขั้นตอนการติดตั้ง ค่อนข้างยุ่งยาก และมีปัญหากับการ์ดเสียงบางรุ่นด้วย ตรงนี้จึงขอแนะนำ แต่เพียงซอฟต์แวร์ที่ทดลองแล้วเห็นว่าใช้งานง่าย และปัญหาน้อย ๆ เท่านั้น ซึ่งหากใครซื้อซีดีของ NCN มา ก็สามารถ copy เพลงมาใช้ด้วยกันได้ครับ
มารู้จักกับโครงสร้างของการเก็บไฟล์เพลงแบบคาราโอเกะกันก่อน
จากภาพ จะเป็นตัวอย่างการจัดเก็บไฟล์ต่าง ๆ ซึ่งต้องมีการจัดเก็บให้อยู่ในรูปแบบเช่นนี้ด้วย จึงจะใช้งานได้

โฟลเดอร์หลัก ๆ ที่จำเป็นมีดังนี้
1. Cursor เป็นที่เก็บไฟล์กำหนดตำแหน่งของเนื้อเพลง
2. Lyrics เป็นที่เก็บไฟล์ของเนื้องเพลง
3. Song เป็นที่เก็บไฟล์เพลงแบบ MIDI
โดยที่ส่วนมาก จะมีข้อจำกัดให้การตั้งชื่อไฟล์เป็นตัวเลข และเก็บไว้ในโฟลเดอร์ที่เป็นตัวเลข 0 ถึง 9 ซึ่งหากเราไปดาวน์โหลดเพลงใหม่ ๆ มาเพิ่มเติม ก็แนะนำว่า ไม่จำเป็นต้องไปเปลี่ยนชื่อไฟล์หรือชื่อโฟลเดอร์เลยนะครับ เพียงแค่ copy ไฟล์มาเก็บให้ถูกต้องก็พอแล้ว
เริ่มต้นขั้นตอนการติดตั้งซอฟต์แวร์กันดีกว่า
ตัวซอฟต์แวร์ของ KaraOK และเพลงต่าง ๆ ให้ลองค้นหาดูจากลิงค์ด้านท้ายของหน้าเว็บนี้นะครับ หลังจากดาวน์โหลดไฟล์ และเพลงต่าง ๆ มาครบแล้ว ก็เริ่มต้นขั้นตอนการติดตั้งกันได้เลย

ในตรงนี้เพื่อไม่ให้เสียเวลา ผมจะขอข้ามขั้นตอนการติดตั้งไปบ้างนะครับ กดที่ปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไปเรื่อย ๆ โดยที่ ขอแนะนำให้ ทำการติดตั้งซอฟต์แวร์นี้ที่ C:\KaraOK เท่านั้น เพื่อไม่ให้มีปัญหาตอนเพิ่มเพลง

จนมาถึงขั้นตอนของการติดตั้ง XingMPEG เพื่อที่จะใช้ในการซ้อนภาพยนตร์ ขณะที่ร้องเพลงได้ด้วย แนะนำให้ติดตั้งโดยกด OK

กดที่ปุ่ม OK เพื่อติดตั้ง XingMPEG ครับ

กด Next ไปเรื่อย ๆ จนถึงสุดท้ายที่ Finish ครับ ตรงนี้ให้ทำการ Restart เครื่องใหม่ก่อน 1 ครั้ง
การติดตั้ง KeyDisk ของ KaraOK
หลังจากติดตั้งโปรแกรม KaraOK ไปแล้ว ต่อไปก็ทำการติดตั้ง KeyDisk เพื่อให้ใช้โปรแกรมได้ ขั้นตอนก็ง่าย ๆ ดับเบิลคลิกที่ไฟล์ สำหรับติดตั้ง KeyDisk ได้เลย

กดที่ปุ่ม Install เพื่อทำการติดตั้งต่อไป

และเมื่อเสร็จ ก็กดที่ปุ่ม Finish เป็นอันจบครับ
ขั้นตอนการเพิ่มเพลงเข้าไปในโปรแกรม KaraOK
ต่อไป คือการเพิ่มเพลงเข้าไปในตัวโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมรู้จักเลงต่าง ๆ โดยที่จะมีซอฟต์แวร์สำหรับ ทำการเพิ่มเพลงไว้ชื่อว่า ListOK ครับ การใช้งานก็เรียกโปรแกรมโดยดับเบิลคลิกที่ไฟล์ ListOK ตามตัวอย่าง

ทำการเปลี่ยน Folder สำหรับเก็บเพลง ให้เป็น Folder ของคุณบนเครื่องก่อน แล้วกดที่ปุ่ม ทำ Lister ได้เลย ครับ

ถ้าหากกำหนด Folder ถูกต้อง โปรแกรมจะเริ่มต้นการเพิ่มเพลง ถ้ามีเพลงแยะมาก อาจจะใช้เวลาสักหน่อย รอจนเสร็จครับ ตรงนี้ก็เป็นอันว่า จนขั้นตอนการติดตั้งต่าง ๆ ทั้งหมดแล้ว หากมีการดาวน์โหลดเพลงใหม่ ๆ มา ก็จะต้องทำขั้นตอนการเพิ่มเพลงด้วย ListOK ใหม่ทุกครั้งด้วยนะครับ
การตั้งค่าและใช้งานโปรแกรม
เมื่อติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว เรียกที่ไอคอนของโปรแกรม KaraOK เพื่อเริ่มต้นการตั้งค่าและใช้งาน ก่อนอื่น ต้องทำการตั้งค่าต่าง ๆ ของตัวซอฟต์แวร์ให้เรียบร้อย โดยกดปุ่ม F12 หรือเลือกที่ SETUP ครับ

จากนั้น เลือกที่ป้ายของ Directory ตามภาพ

ให้ทำการเปลี่ยน Folder ที่เก็บเพลงต่าง ๆ ให้ถูกต้องก่อน แล้วกดที่ปุ่ม ตกลง

หลังจากนี้ เมื่อเราพิมพ์รายชื่อเพลง จะมีเมนูของเพลงและรายการมาให้เลือก สามารถใช้ปุ่มคีย์ลูกศร ซ้ายขวา เพื่อเลือกเพลงได้ครับ หรือจะกดคีย์ INS เพื่อเลือกเพลงจากเมนูก็ได้ ใช้ไม่ยากครับ ทดลองเล่นกันดูก่อน
เอาหละ ทีนี้ก็ หนึ่ง.. สอง... สาม.. เอ้า เตรียมตัวร้องเพลงกันได้เลย

ลิงค์สำหรับดาวน์โหลด ซอฟต์แวร์และเพลงใหม่ ๆ


โดย: คอม-ไทย ดอทเน็ต

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม